ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา

รหัส  D002
ชื่อสินค้า  วัดเวฬุวัน/ วัดปันเจียง
รายละเอียด  ปีพ.ศ. ที่สร้าง/ อายุ: สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๑ อายุ ๑๐๓ ปี (๒๕๕๔)
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่เลขที่ หมู่ที่ ๒ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๔๐
สถานะของวัด: สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑
เจ้าอาวาสปัจจุบัน: พระครูสัทธาโสภณ (หลวงปู่ครูบาอ้าย โสภณ)
ศรัทธาวัด: ชุมชนหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๓๘๐ ครัวเรือน
ประวัติศาสตร์: ประวัติความเป็นมาของวัด
เมื่อนับถึงกาลปัจจุบันนี้วัดเวฬุวันอายุ ๑๐๓ ปี (๒๕๕๔) ล่วงมาแล้ว วัดเวฬุวันมีช่วงของการพัฒนาวัดที่สำคัญอยู่ ๓ ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงที่ ๑ ช่วงเริ่มต้นสร้างวัด ในสมัยของครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม (เจ้าอาวาสรูปที่๑) ช่วงที่ ๒ ช่วงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด และพัฒนาวัดในด้านต่างๆ ในสมัยของครูบาขัตติยะ (ก้อนแก้ว ขัตติโย) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒
ช่วงที่ ๓ ช่วงสืบสานงานด้านพุทธศาสนาซึ่งอยู่ในช่วงปัจจุบันนี้ ในสมัยของหลวงปู่พระครูสัทธา โสภณ (อ้าย โสภณ) เจ้าอาวาสรูปที่ ๓


วัดเวฬุวันเดิมมีหลายชื่อด้วยกันเพราได้ย้ายไปหลายสถานที่เพื่อให้เหมาะสมแก่การตั้งชื่อวัด ดังที่ส.ท. สิงห์คำ แสงหล้า ได้ฟังคำบอกเล่าจากพ่ออุ้ยน้อยหน้อย แสงหล้า เล่าให้ฟังว่า “...จุดเริ่มต้นของวัดเวฬุวันนั้นเริ่มจากสมัยครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม สมัยนั้นพ่ออุ้ยน้อยหน้อยได้เคยบวชเป็นสามเณรร่วมกับครูบาสมุห์แก้วที่วัดหัวหนอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในหมู่ ๗ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้ย้ายจากวัดหัวหนองมาที่วัดเชียงยืนใต้และวัดปันเจียง ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ของวัดเวฬุวันในปัจจุบัน ปละได้ย้ายจากวัดปังเจียงมาตั้งวัดใหม่ชื่อ “วัดป่าหนาด” ซึ่งปัจจุบันวัดป่าหนาดอยู่ใน หมู่๒ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ย้ายมาอยู่ที่วัดเวฬุวันในปัจจุบัน
สำหรับวัดปันเจียงนั้น ปัจจุบันเป็นธรณีสงฆ์ของวัดเวฬุวัน มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่เศษ จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านบอกว่า วัดปันเจียงก่อนหน้านี้ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้วนั้น เดิมตั้งอยู่ห่างจากธรณีสงฆ์ ไปทางทิศตะวันตก ๕๐๐ เมตร ชื่อว่าวัด “เชียงยืนใต้” แต่สถานที่ดังกล่าวเป็นลุ่มมักจะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน จึงได้ย้ายมาหาที่ใหม่ และเมื่อเริ่มทำการก่อสร้างนั้น ชาวบ้านก็ได้ขุดพบเงินเจียงหรือเงินจีนโบราณ จำนวน ๑, ๐๐๐ เจียง พร้อมทั้งพระเครื่องอีกจำนวนมากฝังอยู่ใต้ดิน ต่อมาเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วจึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า “วัดปันเจียง”
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ พระยาสุรสีหวิศิษฐ์ศักดิ์ ข้าหลวงพิเศษมณฑลพายัพ ได้ริเริ่มโครงการ ขยายทางเชื่อมจังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน และให้ชาวบ้านปลูกต้นยางไว้ ๒ ข้างทาง เพื่อกำหนดเขตอำเภอสารภี ในปีเดียวกันนั้นเอง ครูบาสมุห์แก้ว คุณธัมโม พร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดปันเจียงได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่าต่อไปวัดแห่งนี้จะอยู่ไกลถนน การคมนาคมที่ไม่สะดวกจะทำให้ยากแก่การพัฒนา จึงมีความคิดเห็นกันว่าให้ออกมาสำรวจหาสถานที่เพื่อก่อสร้างวัดใหม่ ครูบาสมุห์แก้วเห็นว่าการคมนาคมที่สะดวกจะทำให้วัดพัฒนายิ่งขึ้น จึงย้ายวัดมาตั้งที่วัดเวฬุวันในปัจจุบัน ชาวบ้านเมื่อทราบว่าครูบาสมุห์แก้วจะย้ายวัดมาจึงช่วยกันบริจาคที่หลายสิบไร่เพื่อสร้างวัด ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ และตั้งชื่อว่า “วัดดวงดี” แต่ในเวลาไม่นานพระครูท่านก็พิจารณาว่าภายในวัดมีกอไผ่เกิดขึ้นมากมาย จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกว่า “วัดเวฬุวัน”
   
 
     

 


Copyright 2005-2025 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com