ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา

รหัส  D004
ชื่อสินค้า  วัดแสนหลวง
รายละเอียด  ปีพ.ศ. ที่สร้าง/ อายุ: สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ในสมัยพระเจ้ากาวิระ มีอายุ ๒๖๑ ปี (๒๕๕๔)
ที่ตั้ง: เลขที่ ๒ หมู่ที่ ๓ บ้านแสนหลวง ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๔๐ พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน (โดยมีพระเจ้ากาวิละเป็นผู้สร้างหมู่บ้านขึ้นในพื้นที่ประมาณ ๕๐-๖๐ ไร่)
สถานะของวัด: สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑ เส้น ๖ วา ยาว ๒ เส้น ๘ วา
เจ้าอาวาสปัจจุบัน: พระอธิการปรีชา มุนิวํโส ปีพ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน
ศรัทธาวัด: บ้านแสนหลวง หมู่ที่ ๒ และ ๔ ตำบลยางเนิ้ง ประมาณ ๔๕๐ ครัวเรือน
ประวัติศาสตร์: ประวัติความเป็นมาของวัด


ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ แห่งราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ ๒๐ ได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๐๒ และพระองค์ก็ได้ถูกจับตัวไปยังกรุงอังวะ นับจากนั้นล้านนาไทยก็อยู่ใต้อำนาจของพม่านานถึง ๒๑๖ ปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พญาจ่าบ้าน (บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับพระเจ้ากาวิละนำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเข้าตีเมืองเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกไป แต่ก็หาความผาสุกไม่ได้เนื่องจากยังถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอ ซ้ำร้ายยังขาดแคลนอาหารด้วย จึงอพยพผู้คนถอยร่นจากเมืองเชียงใหม่มาตั้งรับข้าศึกอยู่ที่ “เวียงหวาก” ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสารภี จากนั้นจึงปรึกษาหารือกันและเห็นชอบว่าควรจะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่งเพื่อไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในราชสำนักและไพร่ฟ้าประชากร โดยมอบหมายให้พญาแสนหลวงเป็นสล่า (นายช่าง) ได้มีการออกแบบก่อสร้างวัดในปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ตรงกับเดือน ๖ เหนือ ออก ๑๕ ค่ำ ยามใกล้รุ่ง ซึ่งอาราธนามหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ พญาแสนหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายฆารวาส การก่อสร้างดำเนินงานไปเกือบจะเสร็จ ทางสล่าอยากได้เตียงไว้ในกุฏิให้พระสงฆ์ไว้นอน และอยากจะได้เตียงถวายเจ้าเหนือหัวด้วย จึงได้พากันไปตัดต้นยางต้นหนึ่งซึ่งในตำนานกล่าวว่าเป็นต้นไม้ใหญ่ขนาดสามคนโอบ มีลำต้นเอนไปทางทิศตะวันออก พอคณะช่างไปถึงต้นยางใหญ่ สล่าผู้เป็นหัวหน้าก็ยกขวานฟันลงที่ต้นยางนั้น ขณะนั้นเองก็เกิดอาเพศขึ้น ต้นยางใหญ่ต้นนั้นเกิดอาการสั่นสะเทือน และมีเสียงครางฮือๆ เหมือนได้รับความเจ็บปวดอย่างสาหัส พวกสล่าต่างพากันทิ้งเครื่องมือและหนีไปคนละทิศละทาง พญาแสนหลวงจึงสั่งให้ลูกน้องนำข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน เหล้าไห ไก่คู่ หมากเมี่ยง พูล ยา มาตั้งศาลเพียงตาทำพิธีบวงสรวง เสร็จแล้วจึงตัดต้นยางนั้นต่อ การก่อสร้างดำเนินงานจนเสร็จ และไม่นานนักพญาแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรมลงและอีกเพียง ๓ วัน มหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรก็ถึงแก่มรณกรรม พระเจ้ากาวิละจึงได้ให้สล่าทำหอ (ศาล) ไว้ ๒ หอ คือหอคำซึ่งสร้างไว้ที่หลังพระวิหาร (ต่อมาหอคำหลังนี้ได้หายสาบสูญไป) ส่วนอีกหอหนึ่งคือ หอพญาแสนหลวงซึ่งสร้างไว้ที่มุมกำแพงวัดด้านเหนือ คือริมศาลาบาตรใต้ต้นโพธิ์ พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านจึงได้กรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดแสนหลวง” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้แก่พญาแสนหลวง ผู้ออกแบบและดำเนินงานก่อสร้างวัดนี้ ส่วนศาลพญาแสนหลวงนั้นต่อมาได้นามว่า “ศาลเจ้าพ่อแสนหลวง” เพื่อเป็นที่สักการบูชาของประชาชน
   
 
     

 


Copyright 2005-2025 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com