ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา

  
 
 ถนนสายประวัติศาสตร์มีชีวิต <23/05/49>


ประมาณปี พ.ศ. 1837 พญามังรายทรงสถาปนาเวียงกุมกามให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา แต่เนื่องจากเวียงกุมกามเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ จึงย้ายมาอยู่ที่เวียงเชียงใหม่ ซึ่งทำเลที่ตั้งเหมาะสมกว่าในอดีตการคมนาคมระหว่างเชียงใหม่เวียงกุมกาม เวียงหริภุญไชยและอาณาจักรอื่นๆ จะใช้แม่น้ำปิงเป็นหลัก ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำจากเดิมไหลผ่านด้านทิศตะวันออกของเวียงกุมกามมาเป็นด้านทิศตะวันตก ร่องน้ำเดิมถูกตะกอนทับถมจนตื้นเขิน เหลือเป็นเพียงร่องน้ำขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกร่องน้ำนี้ว่าปิงห่าง (สรัสวดี,2537) ต่อมามีการตั้งบ้านเรือนตามแนวปิงห่างมากขึ้นเกิดเป็นชุมชนหลายแห่ง ชุมชนแต่ละแห่งมีการติดต่อไปมาหาสู่เป็นประจำ จึงเกิดเป็นทางสัญจรระหว่างชุมชนและพัฒนาเรื่อยมาเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน และมีการปรับปรุงและซ่อมแซมตลอดมา ประมาณปี พ.ศ.2438 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ได้ปรับปรุงและขยายเส้นทางสายนี้ให้กว้างขึ้น จนเกวียนสามารถเดินได้ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 114) และในปี พ.ศ. 2449 ( ร.ศ. 124) เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ ได้ปรับปรุงเส้นทางสายนี้อีกครั้งโดยให้ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ข้าหลวงโยธาเป็นผู้ให้คำแนะนำซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ทำให้เส้นทางสายนี้สภาพดีขึ้นและมีความกว้างกว่า 3 วา เท่ากันตลอดทั้งเส้น (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 124) เป็นที่มาของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถนนสายนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนวรัฐ ตรงไปตำบลหนองหอย และเริ่มเลียบแนวปิงห่างที่วัดกู่ขาวไปจนถึงลำพูน โดยถนนบางช่วงอยู่บนผนังดินดินธรรมชาติของปิงห่าง มีความยาวทั้งหมด27.25 กิโลเมตร ความกว้างผิวทางเฉลี่ย 5.98 เมตร ต้นยางนาสองข้างท่งถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนคาดว่าปลูกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 (Loetsch & Halle, 2505) โดยปลูกต้นยบางในเขตเชียงใหม่และปลุกต้นขี้เหล็กในเขตลำพูนและมีการกำหนดกฎระเบียบ ในการดูแลรักษาอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์บนเขตถนนและที่ทำการของราชการ หากสัตว?เลี้ยงของผุ้ใดเหยีบย่ำต้นไม้ที่ปลูกไว้จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.ศ. 120) ถ้าต้นยางนาปลูกตรงกับหน้าบ้านใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้นเอาใจใส่ทำรั้วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายเข้ามาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้า ใส่ปุ๋ย สำหรับต้นยางนาที่ไม่ตรงกับหน้าบ้านผู้ใดจะมอบหมายให้หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงรับผิดชอบ โดยให้หัวหน้าหมู่บ้านนำลูกบ้านมาช่วยกันดูแลรักษา(เทศบาลตำบลยางเนิ้ง,2546) ด้วยเหตุนี้ต้นยางนาจึงเจริญเติบโตได้ดีและสวยงามมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

ต้นยางนาสองข้างถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่คู่เมืองเชียงใหม่มาร้อยปีแล้ว มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ต้นยางนาริมถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนยังให้ความร่มเย็น ปรับสภาพภูมิอากาศไม่ให้ร้อนและหนาวเกินไป ช่วยทำให้ภูมิทัศน์สวยงาม เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยงให้เยี่ยมชมช่วยสงเสริมการท่องเที่ยว เป็นแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนาสำหรับใช้ขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์หรือใช้ในการศึกษาวิจัย

ลักษณะทั่วไปของต้นยางนา
ต้นยางนา หรือ ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก มีชื่อวิทยศาสตร์คือ Dipterocarpus alatus. ex G.Don จัดอยุ่ในวงศ์ไม้ยาง (Family Dipterocarpaceae)

ต้นยางนาเป็นต้นไม้สูงถึง 50 เมตร ไม่ผลัดใบ หรือผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ค่อนข้างเรียบ สีเทาอบขาว เปลืกในสีน้าตาลอบชมพู โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่ม เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง หูใบ สีเทาอมเหลือง มีขนนุ่ม ใบเดียวรูปไข่หรือรีแกรมรูปขอบขนาน ปลายใบทู่หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ เล็กน้อยแผ่นใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงมีครีบตามยาว 5 ครีบ ส่วนกรีบดอกจะเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหันผลกลมรี ยาว3-4 ชม. มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกคู่ยาว2ปีก แต่ยาวไม่เกิน 16 ชม. ปีกสั้น 3 ปีกรูปหูหนู ทั้งเส้นตามยาวและเส้นแขนงย่อยมักคดไปมาไม่ค่อยเป็นระเบียบ ตามธรรมชาติจะพบตามป่าดิบแล้งและเบญจพรรณขึ้นทั่วไปออกดอกเป็นผลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ดเพาะ แต่เมล็ดที่นำมาเพาะควรมีอายุไม่เกิน 10 วัน หลังจากร่วงจากต้น การปลูกระยะแรกต้องมีร่มเงาบังแดด และมีความชุ่มชื้นพอควร

ต้นยางนามีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมีรายงานว่าพบแถบอันดามันและตอนบนของมาเลเซีย ในประเทศไทยต้นยางนามักพบขึ้นอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำทั่วไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในระดับความสูงไม่เกิน 350 เมตรพบน้อยที่ต้นยางนาจะขึ้นในที่สูงเกินกว่าระดับนี้

ลำต้นของต้นยางนามีขนาดใหญ่ เปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย สามารถแปรรูปเป็นไม้แปรรูปหน้าใหญ่ มีความยาวไม่คดงอ เนื้อไม้มีความคงทนและทำไม้อัดได้คุณภาพดี นอกจากนี้ต้นยางนาสามารถผลิตน้ำมันยาง (Oleoresin) ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำไต้ น้ำมันชักเงา น้ำยาป้องกันรักษาไม้ไผ่ หมึกพิมพ์ ยาเรือ ตะกร้า ภาชนะต่างๆ


 
     


Copyright 2005-2024 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com