ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา
 
  ชื่อกระทู้ : ปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับโรคหัดสุนัขที่กำลังระบาด
ผู้ตั้งกระทู้ : หลังเขาอินเตอร์
IP : 61.19.196.54
วัน-เวลา : 11/04/55 - 13:36 น.
ข้อความ : กระผมมีปัญหาที่จะปรึกษาเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์
ปัจจุบันชุมชนด้านทิศตะวันออกของวัดพระนอนป่าเก็ดถี่
มีปัญหาการระบาดของโรคหัด สุนัขหลายตัวได้ตายไป
และยังคงระบาดติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุนัขของผมเองก็
พึ่งตายไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 ที่ผ่านมาบ้านระแวก
ใกล้เคียงก็ทยอยกันตายเช่นกัน และตัวอื่น ๆ ก็เริ่มมีอาการ
ของโรคบ้างแล้ว นั้น กระผมจึงของข้อเสนอแนะ หาก
ทางเทศบาลสามารถดำเนินการช่วยเหลื่อได้จะเป็นพระคุณ
อย่างสูง
1.จะดำเนินการหยุดการระบาดได้อย่างไร
2.จะมีวิธีใดช่วยเหลือสุนัขที่กำลังป่วยได้บ้าง
3.ข้อเสนอแนะ นอกจากมีการฉีดวัคซีนกันโรคพิษสุนัขบ้าและยาคุมกำเนิดแล้ว น่าจะมีการฉีควัคซีนป้องกันโรคติดต่อในสัตว์บริการด้วย
กระผมจึงขอความช่วยเหลือ และขอเสนอแนะมาตามความข้างต้นเพื่อโปรดพิจารณา

 
 
  ความคิดเห็น/คำตอบที่ 1  
  ผู้แสดงความคิดเห็น/ตอบ : สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสารภี
IP : 101.109.5.55
วัน-เวลา : 23/04/55 - 11:19 น.
ข้อความ : เรื่อง โรคไข้หัดสุนัข Canine Distemper


โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายและรดเร็ว เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชอบเข้าโจมตีระบบทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร และ ระบบประสาท ของร่างกาย ติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งของที่ออกมาทางตาและจมูกของสุนัขที่เป็นโรค การติดต่อทางอื่น ๆ เช่น สัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ป่วย และน้ำที่ออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายสัตว์ป่วย และเชื้อยังสามารถติดต่อผ่านทางอากาศได้
โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในสุนัขสมัยก่อน แต่ปัจจุบันพบได้ลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้นเช่นเดียวกับโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอัตราการเกิดโรคลดลงอย่าเห็นได้ชัด ในปัจจุบันโรคนี้จะพบได้ในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 3 - 6 เดือนและยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข (ปกติลูกสุนัขมักได้รับภูมิต้านทานจากแม่สุนัขผ่านทางน้ำนมและภูมิต้านทานจะลดลงเมื่ออายุ 9 – 12 สัปดาห์) เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทาน ลูกสุนัขที่ได้สัมผัสกับโรคนี้ตายมากกว่า 50% ในรายที่รอดชีวิตมักเหลือร่อยรอยของโรคให้เห็น เนื่องจากเชื้อเข้าระบบประสาทร่อยรอยที่เหลือจึงมักพบว่าสุนัขที่รอดชีวิตมีอาการอัมพาตทั้งตัวหรือบางส่วน หรือชักกระตุก
โรคไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสที่คล้ายกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเชื้อไข้หัดในคน ติดต่อกันผ่านทางอากาศ เชื้อของสุนัขไม่สามารถติดต่อไปถึงมนุษย์และแมวได้
โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้ทุกเพศและพันธุ์ ส่วนมากที่พบเป็นในลูกสุนัขมากกว่า
อาการของโรคที่เห็นแต่ละระยะจะไม่เหมือนกัน มักพบอาการร่วมระหว่างทางเดินอาหารและทางเดินหายใจในระยะแรก และมีอาการทางระบบประสาทตามมาภายหลังการป่วย 2 – 3 สัปดาห์ สุนัขที่อายุมากกว่า 1 ปีจะพบโรคนี้ได้ยากเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น
อาการ
• อาการบางรายก็เป็นอย่างอ่อน ๆ บางรายก็เป็นแบบรุนแรง สิ่งที่สังเกตได้ครั้งแรกคือจะมีขี้มูกและขี้ตา มีอาการไอ และอ่อนเพลีย อาการที่พบได้ทั่ว ๆ ไป คือ
• ซึม และป่วยบ่อย ๆ
• เบื่ออาหารและร่างกายขาดน้ำ
• อาเจียน
• ท้องเดิน
• ชัก
• เดินโซเซเนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน
• กล้ามเนื้อกระตุกมักพบที่บริเวณหัว, ปาก
• อัมพาตหรือเดินขาหลัวอ่อน
• ตาบอด
• ฝ่าเท้าแข็งบางคราวลอกได้เป็นแผ่น
• ฟันเปลี่ยนสีหรือกร่อนในสุนัขที่กำลังเจริญเติบโต
การวินิจฉัย
มีโรคหลาย ๆ โรคที่อาจสับสนกับโรคไข้หัดสุนัข
• โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (Kennel cough หรือ Tracheobroncheitis) เป็นโรคติดต่อที่ทำให้เกิดอาการไอ มักเป็น ๆ หาย ๆ แต่สุนัขมักหายโดยไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน
• โรคปอดบวม (Pneumonia) เกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย, เชื้อรา, และตัวอ่อนของพยาธิ์ อาการคล้ายโรคไข้หัดสุนัขค่อนข้างมาก
• โรคไข้หัดสุนัขที่เข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้สับสนกับโรค
• โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส อาจเป็นโรคลำไส้อักเสบจากเชื้อพาร์โวไวรัส หรือ โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัส
• ลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น แคมไพโรแบคเตอร์, ซัลโมเนลล่า, หรือคลอสติเดียม
• ลำไส้อักเสบจากเชื้อโปรโตซัว เช่น ไกอาเดีย
• กินสิ่งแปลกปลอม และ สารพิษ
• โรคอื่น ๆ ที่ทำให้อาเจียนและท้องเสียโดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
• โรคไข้หัดสุนัขที่มีอาการทางระบบประสาทอาจทำให้สับสนกับโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
• Granulomatous menigoencephalitis เป็นอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบและระบบประสาทส่วนกลางอักเสบอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้อาการทางประสาทคล้ายโรคไขหัดสุนัข
• สมองอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว เช่น neosporosis, toxoplasmosis
• Cryptococcosis เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับระบบประสาทและทางเดินหายใจ
• สารพิษประเภทตะกั่ว ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและทางเดินอาหาร
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเพื่อแยกโรคไข้หัดสุนัขออกจากโรคอื่น ๆ ต้องอาศัยการซักประวัติการฉีดวัคซีน, ลักษณะการเดินทาง, สภาวะแวดล้อม ฯลฯ ประกอบกับอาการที่แสดงออก
อาการของโรคที่แสดงว่าเป็นโรคไข้หัด คือ
• เคลือบฟันมักเปลี่ยนสีและขรุขระ
• มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อบางกลุ่ม เช่น กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า, ขา และปาก
• ฝ่าเท้าแข็ง
• มีอาการอักเสบของม่านตา
การวินิจฉัย
• ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) จะพบเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ลดต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังเป็นโรค ในบางรายอาจพบอาการเกล็ดเลือดต่ำ
• ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile) มักพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในบางรายอาจพบว่าค่าตับและไตสูงกว่าปกติได้ อาจพบค่าเกลือแร่, น้ำตาลในเลือด และโปรตีนในเลือดผิดปกติขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความรุนแรงของโรค
• ตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่าสัตว์มีภาวะของของเหลวในร่างกายผิดปกติหรือไม่
• ฉายภาพรังสีช่องอก ซึ่งอาจพบว่าปกติหรือมีภาวะปอดบวมแทรก
• ในบางรายอาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น
• ตรวจหาไวรัสจากสารคัดหลั่งของร่างกาย เช่น จากเยื่อตาขาว, หลอดลม, ปัสสาวะ, เม็ดเลือดขาวที่ปั่นแยกแล้ว, และน้ำไขสันหลัง ซึ่งอาจตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแต่ไม่ได้หมายความว่าสุนัขไม่ได้เป็นโรคนี้
• การตรวจน้ำไขสันหลังอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้หัดสุนัขไนรายที่มีอาการทางระบบประสาท โดยจะพบโปรตีนและเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ในน้ำไขสันหลัง และตรวจพบแอนตี้บอดี้ในน้ำไขสันหลัง เปรียบเทียบกับที่พบในเลือด
• การตรวจแอนตี้บอดี้ในเลือดจะพบว่าสูงในระยะ 2 – 4 สัปดาห์แรกของการติดเชื้อไวรัส ซึ่งในรายที่ได้รับวัคซีนก็จะมีแอนตี้บอดี้ในเลือดสูงเช่นกัน จึงต้องทำการตรวจมากกว่า 1 ครั้งเพื่อเปรียบเทียบ
การรักษา
สุนัขที่เป็นโรคไข้หัดสุนัขมักต้องอยู่โรงพยาบาลและต้องแยกออกจากสัตว์ป่วยอื่น ๆ ส่วนมากการรักษามักรักษาตามอาการเพื่อช่วยพยุงร่างกายสัตว์ให้สามารถสร้างภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ยังไม่มียาสำหรับต้านเชื้อไวรัสโรคไข้หัด การรักษาโรคไข้หัดสุนัขต้องใช้การรักษาร่วมหลาย ๆ อย่าง โดยพิจารณาเป็นรายจากความรุนแรงของโรคและอาการที่แสดงออก และเจ้าของสัตว์ต้องเข้าใจว่าโรคไข้หัดสุนัขแม้จะดูแลอย่างดีแล้วก็ตาม อย่างน้อย 50% ของสัตว์ป่วยมักตาย
• ในรายที่มีอาการของทางเดินอาหารรุนแรง หรือไม่ยอมกินอาหารต้องให้สารน้ำและอาหารเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและสารอาหาร
• ให้ยาลดอาการอาเจียน ในรายที่มีอาการอาเจียนมาก ๆ
• ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส เนื่องจากในระยะที่สัตว์ป่วยภูมิต้านทานมักลดลงจากปกติ โอกาสการติดเชื้อจะมีสูง
• รายที่มีอาการชักต้องให้ยากันชัก เพื่อไม่ให้สัตว์มีอาการกระตุกหรือชักมากขึ้น
• ยังไม่มีการรักษาใด ๆ ที่ได้ผลจริงกับโรคไข้หัดสุนัข
การดูแล
เจ้าของต้องคอยสังเกตอาการว่าสัตว์ป่วยมีโรคปอดบวมแทรกหรือมีอาการขาดน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะในระยะแรกที่มีอาการอาเจียนและท้องเสียมักทำให้อาการของโรคแย่ลง
• ให้ยาตามที่สัตวแพทย์กำหนด
• ถึงแม้จะดูแลอย่างดีแต่สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัขอาจตายภายหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ภายหลังการรับเชื้อ
• สัตว์ที่หายจากการป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัขมักไม่เป็นตัวแพร่เชื้อ และจะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ดีมาก
• ในกรณีที่สัตว์ทรมานมากจากอาการชัก, อัมพาต, โรคปอดบวมแทรกที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา, มีอาการอาเจียนและท้องเสียตลอดเวลา สัตวแพทย์อาจพิจารณาทางเลือกให้เจ้าของสัตว์
การป้องกัน
โดยการนำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ดังนี้
- ฉีดครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ 6 – 8 สัปดาห์
- ฉีดวัคซีนกระตุ้นครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 – 3 สัปดาห์
- และควรฉีดซ้ำทุกๆปี
สุนัขที่นำไปฉีดวัคซีนต้องมีสุขภาพแข็งรงสมบูรณ์

 
  ความคิดเห็น/คำตอบที่ 2  
  ผู้แสดงความคิดเห็น/ตอบ : หลังเขาอินเตอร์
IP : 61.19.196.54
วัน-เวลา : 28/05/55 - 11:18 น.
ข้อความ : สิ่งที่เจ็บปวดก็คือการเฝ้ามองสุนัขที่รักต้องติดเชื้อตายโดยช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย ทั้ง ๆ ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและ ที่น่าเศร้าก็คือภูมิคุ้มกันของสุนัขในพื้นที่ระบาดตอนนี้ก็น่าเป็นห่วง
ความคิดของผมก็คือ เชื้อโรคไวรัสนี้ทวีความรุนแรงขึ้น เพราะสุนัขถิ่น หรือสุนัขพื้นเมือง ที่ว่าแข็งแรง และทนต่อโรคเอง ยังมีโอกาสตาย (ซึ่งก็ตายเป็นจำนวนมาก) แต่ยังไงกระผมเอง และบ้านเรือนใกล้เคียงก็จะสังเกต และจะแจ้งความคืบหน้า ของการระบาดให้ทราบในภายหลังครับ และขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ สวัสดีครับ

 
แสดงความคิดเห็น / ตอบกระทู้
 

กฎ กติกา มารยาท ในการร่วมแสดงความคิดเห็น / ร้องเรียน / โพสต์ข้อความทั่วไป

1) ห้ามโพสต์ข้อความหรือเนื้อหา ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และ ราชวงศ์

2) ห้ามโพสต์ข้อความหรือเนื้อหา ที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร

3) ห้ามโพสต์ข้อความหรือเนื้อหา ที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ลบหลู่ ให้ร้ายผู้อื่น โดยมีเจตนาทำให้สังคมเข้าใจผิดต่อตัวบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร และ สถาบันใดๆ

4) ห้ามโพสต์ข้อความอันเป็นการท้าทาย ชักชวน ยั่วยุ ให้เกิดการทะเลาะวิวาท ความวุ่นวาย ความเกลียดชัง ความรุนแรงทางสังคม หรือ ข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสังคมใดๆ

5) ห้ามโพสต์ข้อความหรือเนื้อหา โจมตี หรือวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา และ คำสอนของศาสนาใดๆ ทุกศาสนา

6) ห้ามโพสต์ข้อความหรือเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย และ ผิดศีลธรรม

7) ห้ามเสนอข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เช่น e-mail Address เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ และ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

** ข้อห้ามในกฎ กติกา ที่กล่าวไว้ข้างต้น ทางผู้ดูแล ขอสงวนสิทธิ์ในการใช้ดุลยพินิจที่จะลบข้อความดังกล่าว (หรือลบทั้งกระทู้) ออกไป โดยอาจไม่แสดงเหตุผลให้ทราบล่วงหน้า รวมถึงขอสงวนสิทธิ์ในการขยายผลในการดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิของสาธารณะชนตามสมควรแก่ความผิด**

 
ชื่อ *
โทรศัพท์ :  
อีเมล์ :  
ข้อความ * :  
รหัสตรวจสอบ* :    กรุณากรอกรหัสในภาพให้ครบถ้วน

  กรุณาเติมรายละเอียดในช่องที่มีสัญลักษณ์ " * "
   
แนบไฟล์ภาพประกอบ : 
(ไม่เกิน 3 ภาพ)       
 
 


วิธีใช้งาน: กรอกข้อมูลที่ต้องการในช่องกรอก หากต้องการแนบภาพด้วยให้กดปุ่ม Choose File เพื่อเลือกภาพ แล้วกดปุ่ม Upload ทีละภาพตามต้องการ เสร็จแล้วจึงกดปุ่ม Submit
 
กลับไปดูกระทู้ทั้งหมด
 
 

 


Copyright 2005-2025 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com