ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา

   
 
 ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ด <03/10/57> อ่าน 1,393 ครั้ง





 
 ศูนย์ดำรงค์ธรรม <24/09/57> อ่าน 1,371 ครั้ง


ศูนย์รับเรื่อง  ร้องเรียน  ร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน 



 
 โรคฉี่หนู_โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม <04/06/57> อ่าน 1,370 ครั้ง


โรคไข้ฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis )

          ข่าวจากกรมควบคุมโรค เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555 แจ้งเตือน “หนูออฟฟิศ” เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนูเช่นกัน การติดต่อไม่แค่เดินย่ำน้ำ อาหาร-น้ำดื่ม-การหายใจก็มีโอกาส  ติดเชื้อได้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “โรคไข้ฉี่หนู” หรือ “เลปโตสไปโรซิส” พบได้เฉพาะในท้องทุ่งนาหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง “หนู” ที่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน สำนักงานต่างๆ ก็เป็นพาหะของโรคเช่นเดียวกัน  

           สถานการณ์การระบาดของโรคไข้ฉี่หนู  ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 ธันวาคม 2554 พบผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 3,699 คน เสียชีวิต 66 คน คิดเป็นอัตราป่วยเฉลี่ย 5 คนต่อประชากรแสนคน ถือว่ายังต้องพัฒนาแผนการเฝ้าระวังให้มากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ได้รับทราบความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกัน เรามาทำความรู้จักโรคไข้ฉี่หนูกันดีกว่าค่ะ 

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

          เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่ระบาดในคน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เลปโตสไปร่า (Leptospira) มักจะพบการระบาดในฤดูฝนเชื้อจะปะปนอยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่ที่มีน้ำท่วมขัง โดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง

การติดต่อของโรค

         สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข หมู วัว ควาย สัตว์เหล่านี้อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีการติดเชื้อที่ท่อไต และปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะได้นานเป็นปีเลยทีเดียว เมื่อคนสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา บางรายงานระบุว่าผิวหนังปกติเชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ คนเรารับเชื้อได้ 2 วิธี ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่นำเชื้อ ระหว่างสัตว์ต่อสัตว์ หรือคนต่อคนโดยเพศสัมพันธ์ ทางอ้อม โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่ตา ปาก จมูก 

อาการของโรคที่สำคัญ

อาการทางคลินิกของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรค ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1 - หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ 

1.1) ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้ 

- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวดบริเวณหน้าผากหรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง 

- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้อ 

- ไข้สูง 38-40 C เยื่อบุตาแดง

อาการต่างๆ อาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง

การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีขี้ตาหรือน้ำตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว 

 1.2) ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็ง มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และมีเชื้อออกมาในปัสสาวะ

 กลุ่มที่มีอาการเหลือง หรืออาการรุนแรง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หาย แต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับและไตวาย ดีซ่าน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอเป็นเลือด อาการเหลืองจะเกิดวันที่ 4 ของโรค ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่ 3 จากไตวาย 

อาการแสดงที่สำคัญ

          1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นาน               ตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ 

          2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง 

          3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น จุดเลือดออกตาม                     ผิวหนัง(petechiae) ผื่นเลือดออก (purpuric spot) เลือดออกใต้เยื่อบุตา       (conjunctivalhaemorrhage) หรือเสมหะเป็นเลือด 

          4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ 

          5. อาการเหลือง มักเกิดวันที่ 4-6 ของโรค

การรักษา

           ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และรับการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่เสียชีวิต เกิดจากการมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไอเป็นเลือด ที่รุนแรง การหายใจล้มเหลว หรือไตวาย เป็นต้นการป้องกันโรค

การป้องกันโรค

          1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะจากหนู สุนัข วัว ควาย หมู

          2. ไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อโรค หรือเห็นว่ามีหนูอยู่ชุกชุม

          3. สวมเครื่องป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ขณะต้องทำงานสัมผัสน้ำ ลุยโคลน

          4. ไม่ควรรับประทานอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด

การควบคุมและกำจัดแหล่งรังโรค

          1. กำจัดหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค

          2. ปรับปรุงสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด

          3. ปิดฝาถังขยะ และหมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหาร ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู

          4. พื้นคอกของสัตว์เลี้ยง ควรเป็นพื้นซีเมนต์ ผิวเรียบ ดูแลให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้มีน้ำหรือ                ปัสสาวะสัตว์ขังอยู่ ในช่วงการระบาดของโรคควรล้างและราดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเสมอๆ

          5. เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วย ต้องแจ้งให้สัตวแพทย์รักษาโดยเร็ว





 
 เข้าหน้าฝนเฝ้าระวัง "โรคไข้เลือดออก" <01/06/57> อ่าน 1,393 ครั้ง


ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย 

อาการของ ไข้เลือดออก 

          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ 

          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 

          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ 
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 

          3. ตับโต 

          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ 

เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที

          เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้ำ กระหายน้ำตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย

          เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง

แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 

          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 

          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด 

          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 

          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย 

จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว

          ผู้ป่วยไข้เลือดออก หากมีอาการไข้ลดลง ภายใน 24-48 ชั่วโมง แล้วเริ่มกินอะไรได้ รู้สึกตัวดี ไม่ซึม แสดงว่าอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว  

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก 

          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก

          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้ 

เป็นไข้เลือดออกแล้วมีสิทธิ์เป็นซ้ำอีกได้ไหม

          เนื่องจากไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดไปแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์อื่นได้ระยะหนึ่ง ก่อนภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์อื่นจะหายไป ดังนั้น ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกในสายพันธุ์ที่ต่างจากที่เคยเป็น แต่ทว่า การติดเชื้อครั้งที่ 2 มักจะมีอาการรุนแรงกว่าการป่วยครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักติดเชื้อไม่เกิน 2 ครั้ง

การป้องกันโรค ไข้เลือดออก 

          ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง  

การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management 

          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์ 

          แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่ 

          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน

          ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ 

          หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธุ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง 

          ตรวจสอบรอบ ๆ บ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแอ่งขังน้ำหรือไม่ หากมีต้องจัดการ

          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง 

          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน 

          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ  

การป้องกันส่วนบุคคล 

          ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง 

          การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี 

          การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ 

          นอนในมุ้ง

          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 

          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 

          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs) 

          การใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง  

การใช้สารเคมีในการควบคุม 

          ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ

          ใช้สารลดแรงตึงผิว เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฉีดพ่นกำจัดยุง เพราะสารดังกล่าวจะไปทำลายระบบการหายใจของแมลง ทำให้แมลงตายได้ 

          ใช้ "ทรายอะเบท" กำจัดยุงลาย โดยให้นำทรายอะเบท 1 กรัม ใส่ในภาชนะที่มีน้ำขัง (อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หรือ 20 กรัม) จะป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 1-2 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากใช้เสร็จแล้วต้องเก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด รวมทั้งเก็บในที่เย็น แห้ง และมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ

          การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

           หากใครมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) หมายเลขโทรศัพท์ 089-204-2255 ตลอด 24 ชั่วโมง




 
 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) <16/05/57> อ่าน 1,381 ครั้ง


AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

ที่มา http://www.thai-aec.com/
 
     
หน้า:   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   | 65 |   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   


Copyright 2005-2025 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com