ข้อมูลพื้นฐาน
ตราสัญลักษณ์
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างหน่วยงาน
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
หน่วยงาน
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองการศึกษา
สถานธนานุบาล
ศูนย์บริการสารสนเทศ
นโยบายและแผน
นโยบายและแผน
เทศบัญญัติฯ
การทบทวนเทศบัญญัติฯ
เเผนพัฒนาเทศบาล
เเผนการดำเนินงาน
รายงานติดตามและประเมินผลฯ
การประเมินผลการควบคุมภายใน
แผนอัตรากำลัง ๓ ปี
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗)
(พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐)
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓)
(พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
(พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓)
การป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานกำกับการติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้่าง
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
มาตรการป้องกันการรับสินบน
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ฯ
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
นโยบายไม่รับของขวัญ
รายงาน
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะ
รายงานการเงินและบัญชี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
สรุปผล/รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดเก็บและจัดหารายได้
งานทะเบียนพาณิชย์
การประชุมสภาเทศบาลฯ
วาระยามเช้า
วารสาร/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
ผลการดำเนินการป้องกันการทุจริต
ผลการประเมินประสิทธิภาพของ อปท.(LPA)
การประชุมคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
ผลการตรวจสอบจาก สตง./ปปช/ปปท/สถ.
สถิติจำนวนผู้มารับบริการด้านต่างๆ
สถิติรายได้ของเทศบาล
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การจัดเก็บภาษี
สถิติจำนวนผู้มารับบริการ การทะเบียนพาณิชย์
สถิติการขอรับบริการงานทะเบียนราษฎร
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้านฯ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต/ร้องทุกข์/ใบบอก
สถิติการขอรับบริการอนุญาตงานก่อสร้าง
สถิติการขอรับบริการงานสาธารณสุขฯ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานเทศบาล
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งระบบแท่ง
แบบฟอร์มต่างๆบริหารงานบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ระเบียบ พรบ. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
ประกาศเทศบาลฯ
คำสั่งเทศบาลฯ
ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้ง
คลังข้อมูล
มุม KM
ศูนย์ดำรงธรรม
แผนภูมิขั้นตอนการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เบี้ยยังชีพ
ร้องเรียนงานบุคคล
 
หน้าแรก ข่าวสารกิจกรรม กระดานข่าว/ร้องทุกข์ สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น ติดต่อเรา

   
 
 วันแรงงานแห่งชาติ <01/05/57> อ่าน 1,354 ครั้ง


วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันแรงงานแห่งชาติ ประจำประเทศไทยในประเทศยุโรป เรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ "วันเมย์เดย์" (May Day) ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน

1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรสากล

วันแรงงานแห่งชาติ เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นวันหยุดแรงงานของสากล เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย มีจุดประสงค์เพื่อ เฉลิมฉลองทั่วโลก ในสังคมของผู้ใช้แรงงาน และ เพื่อเตือนใจผู้ใช้แรงงาน ให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบ และความมั่นคงของอาชีพ อันเป็นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งหน้าที่บริหารแรงงาน อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีความสำคัญดังนี้...

» ด้านการจัดหางาน

ช่วยเหลือคนว่างงาน ให้มีงานทำ รวมไปถึง ช่วยเหลือนายจ้าง ให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพดี พร้อมประชาสัมพันธ์แหล่งหางาน ตลาดแรงงาน อาชีพ และสภาวะของตลาดแรงงานไทย ในปัจจุบันไปถึงอนาคต

» งานแนะแนวอาชีพ

ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่หางานทำ แนะแนววิธีการประกอบอาชีพ ที่เหมาะสมกับความรู้ที่แรงงานมี ตามความสามารถ และความชอบ รวมไปถึงให้คำแนะนำในเรื่องของ รายได้ และความต้องการแรงงานในตลาดแรงงาน

» การพัฒนาแรงงาน

ส่งเสริม และสนับสนุน ให้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องการมีความรู้ ได้มีโอกาสศึกษาต่อ ทั้งภาควิชาชีพ และภาควิชาการ อย่างครบถ้วน

» งานคุ้มครองแรงงาน

ทบทวนเรื่องกฏหมาย ชั่วโมงทำงาน ความเหมาะสมของรายได้ที่แรงงานควรได้รับ วันหยุดงาน รวมไปถึงสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ที่แรงงานควรได้รับ

» งานแรงงานสัมพันธ์

เป็นคนกลางในการแก้ปัญหา ความขัดแจ้ง ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง รวมไปถึงช่วยยุติข้อขัดแจ้งที่เกิดขึ้น และส่งเสริม สร้างสรรค์กิจกรรม ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง




 
 วันเทศบาล (24 เมษายน) <24/04/57> อ่าน 1,349 ครั้ง


วันเทศบาล
ทุกวันที่ 24 เมษายน ของทุกปี

วันเทศบาลตรงกับวันที่ 24 เมษายนของทุกปี กระทรวงมหาดไทย ได้มีการประกาศลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2532 ทั้งนี้ เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล

ประวัติความเป็นมา
ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ ให้ทันสมัยเป็นอันเดียวกันกับนานาอารยะประเทศโดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้อง ถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่างๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบ ประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476 ซึ่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล จนกระทั่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 จนถึงปัจจุบัน

ในบรรดาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งต่อการให้บริการสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการแก่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างดีที่สุด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 70 กว่าปี เทศบาลเป็นองค์กรที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข และสร้างความเจริญต่างๆ ให้แก่ประชาชนในเขตชุมชนเมือง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีการประกาศลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2532 กำหนดให้วันที่ 24 เมษายนของทุกปีเป็น “วันเทศบาล” และได้แจ้งให้เทศบาลทั่วประเทศ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหาคร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันเทศบาลเป็นประจำทุกปี เช่น การทำบุญตักบาตร การรณรงค์ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น การจัดหน่อยบริการประชาชนเคลื่อนที่เป็นพิเศษ การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบทบาท และภาระกิจของเทศบาลให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน ในปีที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง ได้ร่วมกับสมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท) ได้จัดให้มีโครงการวันเทศบาลขึ้น เพื่อเชิดชูความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ให้ปรากฏแก่ประชาชนโดยทั่วกัน โดยมีกิจกรรมพิเศษ เช่นทำบุญตักบาตร กิจกรรมการแข่งขันกีฬา และจัดบอร์ดแสดงผลงาน

ขนาดเทศบาล
เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้นๆ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 มาตรา 9,10,11 ได้กำหนดขนาดเทศบาลดังนี้
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มี ราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตาม พระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย

มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายไดฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย 

สภาเทศบาล
* เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
* เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
* เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน
ทั้งนี้ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วย ประธานสภาเทศบาลหนึ่งคน และรองประธานสภาเทศบาลสองคน และนายกเทศบาล ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในเทศบาลทั้งหมด



 
 การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาล่วงหน้านอกเขตจังหวัด <20/02/57> อ่าน 1,334 ครั้ง


คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศกำหนดสถานที่เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัดเชียงใหม่  ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา ถนนคัดคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดย.. สำนักปลัดเทศบาล



 
 การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด(ส.ว.) <12/02/57> อ่าน 1,315 ครั้ง


ผู้ประสงค์ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดจะต้องทำอย่างไร? 

          ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง
(เพิ่งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาใหม่) ไม่ถึง 90 วัน
นับถึงวันเลือกตั้ง สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ว. ล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้
แต่ต้องยื่นคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น 
ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๘
กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗
สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าไว้แล้วโดยไม่ได้ขอเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนนก็สามารถไปขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ตามวันเวลาที่กำหนดได้เลย

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด



1.     
คำขอลงทะเบียนการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด (ส.ว.42 )และหนังสือตอบรับการลงทะเบียนฯ ส.ว.42/ข.) - ขอรับได้ที่ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งหรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
หรือ Download จากหมวด "แบบฟอร์ม"



2.     
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้และมีเลขประจำตัวประชาชน
13 หลัก
พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 



หมายเหตุ       สามารถยื่นรวมกันเป็นกลุ่มได้โดยใช้คำแบบส.ว.42/ก หรือทำเป็นหนังสือที่มี
ชื่อ-สกุล เลขประจำตัวประชาชนที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง
และจังหวัดที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 90
วัน



วิธีการยื่นคำขอลงทะเบียนนอกเขตจังหวัด 

         ยื่นต่อนายทะเบียนอำเภอ/นายทะเบียนท้องถิ่น
ก็คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตของ กทม. นายอำเภอ หรือปลัดเทศบาล โดยมีวิธีการยื่น 3
ทาง คือ 



1.      ยื่นด้วยตนเอง



2.      ทำหนังสือมอบหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นดำเนินการแทน



3.      ส่งทางไปรษณีย์
(ดูตราประทับต้นทางเป็นสำคัญ)
 



หมายเหตุ กรณีส่งทางไปรษณีย์
จะต้องเตรียมซองจดหมายจ่าหน้าซองถึงตนเองพร้อมติดแสตมป์ส่งไปพร้อมกันกับเอกสารคำขอด้วย



 



ระยะเวลาในการลงทะเบียน 

ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๗





ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลงทะเบียน



1.      ผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ
ไว้แล้วสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ทันที
 โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่



2.      ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วฯ
หากต้องการกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ เขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ใน



ทะเบียนบ้าน จะต้องขอยกเลิกการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดก่อน



3.      การลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตฯ ใช้ได้กับการเลือกตั้ง
ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น
 ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น
ผู้ลงทะเบียนจะต้องกลับไปใช้สิทธิ ณ ท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน



4.      การลงทะเบียนฯ
จะมีผลผูกพันไปตลอด
จนกว่าผู้มีสิทธิฯ จะยื่นหนังสือขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง





โดย.. สำนักปลัดเทศบาล

ดาวน์โหลดเอกสาร..
(1249_1246_FUTURE.pdf) ดาวน์โหลด 167 ครั้ง



 
 รายงานประจำปี ๒๕๕๖ (Annual Report 2013) <01/02/57> อ่าน 1,323 ครั้ง


อ่านรายงานประจำปี คลิ๊กที่นี่
 
     
หน้า:   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   | 66 |   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   


Copyright 2005-2025 โดย เทศบาลตำบลยางเนิ้ง - www.theyang.go.th
สำนักงานเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ถนนเชียงใหม่-ลำพูน จ.เชียงใหม่ 50140
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com