|
|
|
|
|
|
โรคไข้เลือดออก <25/06/53> อ่าน 1,119 ครั้ง
ช่วงนี้ฝนเริ่มตกแล้วจะเห็นได้ว่าช่วงเย็นๆฝนเริ่มตกบ่อยขึ้น ดังนั้นโรคที่ควรระวังคือโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้
ดังนั้นกองสาธารณสุขจะเริ่มรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน เป็นต้นไป โดยจะรณรงค์ใหญ่โดย อสม. และประชาสัมพันธ์โดยรถเคลื่อนที่
**ตารางการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกเทศบาลตำบลยางเนิ้ง**
วัน-เดือน-ปี สถานที่ดำเนินการ
16 18 มิ.ย.53 หมู่ที่ 1 กู่เสือ
19 มิ.ย.53 ร.ร วัดเวฬุวัน ,สารภีพิทยาคม,
บ้านสวนพิมพรรณ,พิมมาลา,วชิราลัย
20 มิ.ย.53 ร.ร.สุปราณี,วราณีกูล,ศรีโพธาราม,
21 30 มิ.ย.53 หมู่ที่ 2 เวฬุวัน
1 5 ก.ค.53 หมู่ที่3 แสนหลวง
6 9 ก.ค.53 หมู่ที่ 4 พระนอนฯ
10 13 ก.ค.53 หมู่ที่ 5 ศรีโพธาราม
14 17 ก.ค.53 หมู่ที่ 6 ต้นเหียว
18 21 ก.ค.53 หมู่ที่ 7 ป่าแดด
22 23 ก.ค.53 หมู่ที่ 1,2,4,8 ต.สารภี
***หมายเหตุ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและจะแจ้งทางเสียงตามสาย
ไข้เลือดออก
เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และเชื้อชิกุนกุนย่า (chigunkunya) มากกว่า 90 % เกิดจากเชื้อตัวแรก โดยทั่วไปการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็กๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงขึ้น และภูมิคุ้มกันที่มีจะไม่ช่วยไห้เราเป็น แต่กลับทำให้การติดเชื้อครั้งหลังรุนแรงขึ้น หมายความว่าเป็นแล้วเป็นได้อีก
พาหะ
ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรค ยุงนี้จะกัดคนที่เป็นโรคและไปกัดคนอื่นๆ ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร ยุงนี้ชอบแพร่พันธ์ในน้ำนิ่ง หลุม โอ่ง น้ำขัง และจะออกหากินใเวลากลางวัน
อาการ
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือดออกคือ
ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2 - 7 วัน
เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟันและถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้
ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดลงแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
อาการอันตราย
เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
1. ผุ้ป่วยซึมหรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
2. คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา
3. ปวดท้องมาก
4. มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ
5. กระสับกระส่าย หงุดหงิด
6. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ
7. กระหายน้ำตลอดเวลา
8. ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก
9. ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลงหรือตัวลายๆ
10. ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจนับเม็ดเลือด
การตรวจทูร์นิเคต์ ( Tourniquet ) โดยใช้เครื่องวัดความดันรัดแขนประมาณ 5 นาที
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับดรคไข้เลือดออก การรักษาเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวัง ภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก้จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
การดุแลผุ้ป่วยไข้เลือดออกควรปฏิบัติดังนี้
1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาสถ่ายเทได้สะดวก
2. เช็ดตัวด้วยน้ำรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
3. ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอลเวลาไข้สูง ตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ ดดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ห้ามให้รับประทานยาลดไข้อื่น ดดยเพาะยาแอสไพริน ยาวองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้
4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
5. ให้ผู้ป่วยดื่นน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย
หมายเหตุ ในระยะไข้สูง การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฏทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้ การเช้ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผุ้ป่วยสุขสบายขึ้น
การป้องกัน
1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
2. กำจัดยุง
|
|
|
|
|
26 มิถุนายน "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" <22/06/53> อ่าน 1,129 ครั้ง
วันต่อต้านยาเสพติดโลก
ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ จึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด โดยในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"
ทั้งนี้ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยเหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่นโดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ก่อนสงครามฝิ่นครั้งแรก
วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
ประเทศไทยก็ได้เผชิญกับปัญหา "ยาเสพติด" มาเป็นเวลานาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า กปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มี "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด" หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำนักงานป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด และได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
...คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด...
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดสากลในปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2552 คือ "Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ยาเสพติดครอบงำชีวิตของคุณอยู่หรือเปล่า ชีวิตของคุณ สังคมของคุณ ต้องไม่มีที่สำหรับยาเสพติด"
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้กำหนด คำขวัญสำหรับการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ดังนี้
- ประจำปี 2553 คือ "ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"
- ประจำปี 2552 คือ "5 รั้วล้อมไทย พ้นภัยยาเสพติด"
- ประจำปี 2551 แนวคิด "ทำความดี ตามคำพ่อ" ภายใต้คำขวัญ "รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด"
- ประจำปี 2550 คือ "รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน"
- ประจำปี 2549 คือ "๖๐ ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด"
- ประจำปี 2548 คือ "พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"
- ประจำปี 2545 คือ "พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด : The Power of people can conquer illicit drugs"
โครงการ ยุทธศาสตร์5รั้วป้องกันฯ ( ปี 2553 )
รัฐบาลได้ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้ยุทธศาสตร์5รั้วป้องกันฯ เป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงาน และเพื่อเร่งรัดให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สามารถลดระดับปัญหายาเสพติดและขจัดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับชาติเป็นแผนงานหลัก เรียกว่า ปฏิบัติการประเทศไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติดยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน ระยะที่ 2 โดยมีเป้าหมายในการลดระดับปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ กรุงเทพปริมณฑล และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกชุมชน-ประชาสังคม และเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาวะวิกฤติ
- ฟิล์ม มาร์กี้ โจ น้ำชา อ๋อม ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2553
โครงการ " 5 รั้วล้อมไทย พ้นภัยยาเสพติด " ( ปี 2552 )
"รั้ว" ในที่นี้หมายถึง การสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างกิจกรรม สร้างกระบวนการทำงานทั้งภาครัฐและประชาชนได้ดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่
1 รั้วชายแดน
2 รั้วชุมชน
3 รั้วสังคม
4 รั้วโรงเรียน
5 รั้วครอบครัว
รั้วแรก คือ "รั้วชายแดน"
ยาเสพติดส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและลักลอบนำเข้าประเทศไทย ภารกิจนี้มีกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ให้กองกำลังป้องกันชายแดนเป็นผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่จัดกำลังปฏิบัติการลาดตระเวน สกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน จัดตั้งอาสาสมัครประชาชนในหมู่บ้านชายแดนเพื่อเป็นกำลังเฝ้าระวัง รวมถึงปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติดในเชิงรุกด้วยการดำเนินมาตรการทางการข่าว การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการข่าว การปราบปรามสกัดกั้น และการลาดตระเวนร่วมกัน
รั้วสอง คือ "รั้วชุมชน"
จากความอ่อนแอของชุมชน ความไม่มีภูมิคุ้มกันของชุมชนทำให้ปัญหายาเสพติดเข้ามาแพร่ระบาดได้ง่าย รัฐบาลจึงประกาศชัดเจนที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เสริมบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในการเฝ้าระวังรวมทั้งการสำรวจตรวจสอบพฤติการณ์ทั้งค้าและเสพด้วยกระบวนการประชาคม เพื่อคัดกรองปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชนขั้นต้นรวมถึงมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อลดทอนโครงสร้างทางการค้าในพื้นที่ รวมถึงการจับกุมและส่งผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด
รั้วสาม คือ "รั้วสังคม"
มุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยลบในสังคม ทั้งสถานบันเทิงที่ผิดกฎหมาย หอพักที่ไม่ได้จดทะเบียน โต๊ะสนุ๊ก โต๊ะพนันบอล ตู้ม้า ร้านเกมส์ อินเทอร์เน็ต แหล่งมั่วสุมต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ภารกิจนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการโดยผู้ว่าราชการจังหวัด/ผอ.รมน.จว.ดำเนินการขยายพื้นที่และกิจกรรมทางบวกให้มากขึ้น อาทิ ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน รวมถึงการสร้างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัด ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการจัดระเบียบสังคม อาทิ แกนนำครูอาสา แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน แกนนำชุมชน ฯลฯ
รั้วสี่ คือ "รั้วโรงเรียน"
ปกติแล้วเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอื่น ๆ ตามมา เช่น หนีเรียน มั่วสุม เสพยาเสพติด ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ดื่มของมึนเมา ดังนั้นมาตรการแก้ไขปัญหาของเยาวชนจึงต้องมุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาทุกระดับ ภารกิจนี้มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยมอบหมายให้ครูทำหน้าที่เสมือนกลไกปลูกฝังและสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา อาทิ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเฉพาะ ค่ายพัฒนาคุณธรรมกิจกรรมทางเลือกตามความสนใจของเยาวชนทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะและการพัฒนาอาชีพ นอกจากนี้ยังผลักดันให้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองในโรงเรียนและชุมชนด้วย
รั้วสุดท้าย "รั้วครอบครัว"
ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะป้องกันยาเสพติด เพราะเมื่อใดครอบครัวเข้มแข็งก็จะส่งผลต่อพื้นฐานของความเข้มแข็งของประเทศด้วย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง เกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันยาเสพติด โดยจะมุ่งเน้นไปที่ครอบครัวที่มีบุคคล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งที่ถูกจับกุมหรือที่บำบัดรักษา เป็นเป้าหมายแรก
ที่มา: http://thaigoodview.com/node/65119
ขอขอบคุณข้อมูล:นางสาว ภัสราภรณ์ ไทยอัฐวิถี
ที่มาของรูป http://information.oncb.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=70 |
|
|
|
|
|
ประกาศประชุมสภาเทศบาล <06/06/53> อ่าน 1,215 ครั้ง
ด้วยสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ได้มีมติในคราวประชุมสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง
สมัยสามัญ สมัยแรก ประจำปี 2553 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 กำหนดสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 2 ประจำปี 2553 มีกำหนด 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน 2553
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 จึงกำหนดการประชุมสภาเทศบาลฯ สมัยสามัญ
สมัยที่ 2 ประจำปี 2553 ในวันที่ 9 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2553
นายเอกศิษฐ์ เชาว์ธำรงวรรธน์
ประธานสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง
ดาวน์โหลดเอกสาร.. ประกาศสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง การเปิดสมัยประชุมสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง (702_784_pr.pdf) ดาวน์โหลด 156 ครั้ง
ประกาศสภาเทศบาลตำบลยางเนิ้ง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับให้ประชาชนเข้ารับฟังการประชุมสภาเทศบาลฯ (702_785_pr2.pdf) ดาวน์โหลด 163 ครั้ง
|
|
|
|
|
กำหนดการประชุมผู้สูงอายุและมอบเบี้ยยังชีพประจำเดือนพฤษภาคม 2553 <02/05/53> อ่าน 1,186 ครั้ง
ตามที่เทศบาลตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2553 เพื่อจ่ายเป็นเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ เทศบาลตำบลยางเนิ้งได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับ ประธานชมรมผู้สูงอายุและคณะกรรมการชมรมทุกหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 ได้กำหนดวันประชุมชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านในต้นเดือนทุกเดือนพร้อมกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเป็นการกระตุ้นเศษรฐกิจและสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในระหว่างเดือนได้ ในเดือนพฤษภาคม 2553
**กำหนดการประชุมชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ประจำเดือนพฤษภาคม 2553 **
หมู่ที่ 1 ตำบลยางเนิ้ง วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2553 ณ วัดกู่เสือ เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 2 ตำบลยางเนิ้ง วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553 ณ วัดเวฬุวัน เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 3 ตำบลยางเนิ้ง วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2553 ณ วัดแสนหลวง เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 4 ตำบลยางเนิ้ง วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2553 ณ วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 5 ตำบลยางเนิ้ง วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2553 ณ วัดศรีโพธาราม เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 6 ตำบลยางเนิ้ง วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม 2553 ณ วัดต้นเหียว เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 7 ตำบลยางเนิ้ง วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม 2553 ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน เวลา 09.00 น. - 12.00 น.
หมู่ที่ 1,2,4,8 ตำบลสารภี วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม 2553 ณ ศาลาประชุมหมู่ 1 สารภี เวลา 13.30 น. - 16.00 น.
|
|
|
|
|
ขอเชิญร่วมประมูลทรัพย์หลุดจำนำ <26/04/53> อ่าน 1,168 ครั้ง
สถานธนานุบาลเทศบาลตำบลยางเนิ้ง (โรงรับจำนำ) ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ร่วมประมูลทรัพย์หลุดจำนำ ในวันเสาร์ที่ 1 พฤษาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ได้ที่หน้า สถานธนานุบาลเทศบาลตำบลยางเนิ้ง.....
|
|
|
|
|
|