ข้อมูลเทศบาล
นายโชติอนันต์  แก้วกาวิล

นายโชติอนันต์ แก้วกาวิล

นายกเทศมนตรีตำบลยางเนิ้ง
โทร : 08-1783-2686

msgสายตรงนายก

นายสมชาติ วงค์ใฝ

นายสมชาติ วงค์ใฝ

ปลัดเทศบาล
โทร : 06-1269-6611


เทศบาลตำบลยางเนิ้ง

เทศบาลตำบลยางเนิ้ง

อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

hornข้อมูลตำบลยางเนิ้ง

วัด


วัดพระนอนป่าเก็ดถี่

  • 6 กรกฎาคม 2566
  • อ่าน 43 ครั้ง

ประวัติวัดพระนอนป่าเก็ดถี่

ประวัติและความเป็นมา

               ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์โลกนั้น พระองค์เสด็จมาโปรดยักษ์ซึ่งกำลังไล่จับลูกสาวนายแสนแซว่ คือ นางอุทุม กิน พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนจนยักษ์เกิดความเลื่อมใสจึงทำให้ลูกสาวนายแสนแซ่วปลอดภัย ดังนั้นลูกสาวเศรษฐีจึงนำบิดาของนาง คือนายแสนแซ่วไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ประทานเส้นเกศาให้ ต่อมานายแสนแซว่และลูกสาวได้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขึ้นโดยนำเอาพระเกศาของพระพุทธเจ้าประดิษฐานไว้ในพระเศียรของพระพุทธรูป ซึ่งต่อมาบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวกลายเป็นวัดขึ้น เรียกว่า "พระนอนแสนแซ่ว" ตามชื่อนายแสนแซ่ว เนื่องจากบริเวณที่ตั้งมีสภาพเป็นป่าต้นเก็ดจำนวนมาก บางครั้งชาวบ้านก็เรียกว่า "วัดพระนอนป่าเก็ดถี่" และเป็นระนอนที่ใหญ่แห่งเดียวที่นอนในท่าปรินิพพาน จนครั้งหนึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเสด็จมานมัสการ ด้วยเห็นพระพักตร์ที่อิ่มงดงามขององค์พระพุทธรูปจึงประทานชื่อว่า "พระนอนแสนสุข" ความสำคัญในปาฏิหาริย์ของพระนอนแสนสุข ที่ปรากฏในพงศาวดารแห่งนครเชียงใหม่ตอนหนึ่งว่าเมื่อปี พ.ศ. 2098 ครั้งนั้นแผ่นดินแห่งนครเชียงใหม่อลเวง เพราะศึกพม่าประชิด เสนา ข้าราชการก็ไม่เอาธุระใจใส่ในหน้าที่ของตน ความจลาจลก็เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ครั้งนั้นได้เกิดอุบาตรกาลกิณีขึ้นกับเมืองสามอย่างในวันเดียวกัน คือ 1)ยอดเจดีย์หลวงกลางเมืองพังทลาย 2)แร้งจับบนยอดพระธาตุดอยสุเทพ คนไล่เท่าไหร่ก็ไม่ไป 3)น้ำพระเนตร พระนอนแสนสุขตกเป็นเลือด ตั้งแต่นั้นมาอีกสามวันเมืองเชียงใหม่ก็ถูกพม่ายึดเป็นเมืองขึ้น

               วัดพระนอนแสนสุขเป็นวัดร้างมาก่อน หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว ก็ไม่ได้ทำนุบำรุงจากชาวพม่า จนเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างหาผู้คนอยู่มิได้ วัดวาอารามและบ้านเมืองเงียบสงัด มีแต่รกเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมอยู่ จนเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า พระพุทธปฏิมากร หรือ พระนอนแสนสุขก็ถูกทอดทิ้ง และเมื่อประมาณ 150 กว่าปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เฒ่าชาวเมืองพิงค์ผู้หนึ่งชื่อว่า หมอกำ หรือหมอประคำ เพราะท่านผู้นี้เวลาไปไหนมาไหนมักมีประคำติดตัวแล้วนับไปด้วย เป็นการเจริญสมาธิวิธีหนึ่ง ครั้งนั้นบริเวณอำเภอสารภีเต็มไปด้วยป่าไผ่ ป่าสัก ป่าไม้เต็ง ป่ายาง และไม้เก็ดจำนวนมาก ตลอดจนมีสัตว์ป่า เช่น เสือ และสัตว์เลี้ยงตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัยพวกวัว ควาย สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ มักจะถูกเสือเอาไปกิน วันหนึ่งหมอคำได้ไปเลี้ยงควาย ก็ได้ไปพบเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่งนอนอยู่ในป่า มีรอยเท้าสัตว์ป่าข้ามไปมาตรงเอวจนเป็นรอยกิ่ว แต่องค์พระมีใบหน้าอันงดงามนัก ตลอดองค์พระพุทธรูปเป็นหินแดงหมด จึงมีความเลื่อมใสมากและได้แผ้วถางทำการปฏิสังขรณ์ใหม่โดยชักชวนชาวบ้านให้มาช่วยกันบูรณะวัด และมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยบริเวณนี้ จึงได้พัฒนาวัดขึ้นมาอีกครึ่งหนึ่ง

สถานที่ตั้ง

               ตั้งอยู่เลขที่ 198 หมู่ที่ 4 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 76 ตารางวา




แชร์หน้านี้: